ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

วันนี้เราพามารู้จักกับ ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา ของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวเชื้อสายจีนกันจ้า โดยขั้นตอนของจีนนั้นถือเป็นการสืบทอดตามบรรพบุรุษมานานช้านานแล้วค่ะ โดยสมัยนี้การแต่งงานก็ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย หากว่าคู่บ่าวสาวเป็นคนไทยเชื้อสายจีนก็สามารถจัดงานแต่งงานผสมผสานกันระหว่างพิธีไทยจีนก็ได้เช่นกันค่ะ

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

ลำดับขั้นตอนการจัดงานแต่งงานพิธีจีน

ฤกษ์แต่งงาน
ขั้นตอนนี้จะเริ่มต้นด้วยทางฝ่ายบ้านเจ้าบ่าว นำดวงของเจ้าสาวไปให้ซินแสผูกดวงสมพงษ์และหาฤกษ์แต่งงาน หรือเรียกว่า “ชึ้งเมี้ย” เพื่อหาวันแต่งงานที่ดีที่สุด รวมถึงฤกษ์ตัดชุด ฤกษ์หมั้น ฤกษ์ยกน้ำชา ฤกษ์ปูเตียง ฤกษ์แห่ขันหมาก ฤกษ์เข้าบ้านฝ่ายชาย ฤกษ์เจ้าสาวกลับบ้าน เมื่อได้วันและเวลาแล้วก็จะทำการส่งต่อไปยังบ้านเจ้าสาวต่อไป

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

สิ่งที่ทางฝั่งบ้านเจ้าสาวต้องเตรียม
สิ่งของต่างๆที่ทางฝ่ายเจ้าสาวต้องจัดเตรียมเมื่อออกเรือนนั้น จะมีดังนี้
– เอี๊ยมแต่งงานซึ่งเป็นเอี๊ยมสีแดง ตรงอกเสื้อเอื้อมมีช่องกระเป๋าปักตัวอักษร “แป๊ะนี้ไห่เล่า” แปลว่า อยู่กินกันจนแก่เฒ่า ในกระเป๋าเอี๊ยมบรรจุห่อเมล็ดพืช 5 ชนิด มีความหมายว่าเจริญงอกงาม
– ต้นชุงเฉ้าหรือต้นเมียหลวง 2 ต้น และปิ่นทองที่ทำเป็นตัวลายภาษาจีนว่า “ยู่อี่” แปลว่า สมปรารถนา
– เชือกแดงสำหรับผูกเอี๊ยมมีตัวหนังสือ “ซังฮี้” มีแผ่นหัวใจสีแดงสำหรับติดเครื่องประดับทอง เครื่องประดับเพชร
– กะละมังสีแดง 2 ใบ
– ถังน้ำสีแดง 2 ใบ
– กระป๋องน้ำสีแดง 2 ใบ
– กระโถน 1 ใบ พร้อมกระจก กรรไกร ด้าย เข็ม ถาดสีแดง
และนอกจากนี้ของที่จัดเตรียม ต้องเป็นจำนวนคู่อย่างตะเกียบ ชุดน้ำชา พัดแดง สำหรับเจ้าสาวถือตอนส่งตัว อีกทั้งยังมีผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม 1 ผืน หมอน 1 ชุด ซึ่งจะมี 4 ใบ หรือ 5 ใบก็ได้ ประกอบไปด้วยหมอนข้าง 1 คู่ หมอนหนุนใบยาว 1 ใบ ซึ่งหมอนใบยาวนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ ถ้าเจ้าสาวฐานะดีพ่อแม่อาจจะจัดเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ให้ด้วย แล้วสุดท้ายยังมีหวีอีก 4 เล่ม ที่เป็นเคล็ดมงคลตามภาษาจีนเขียนว่า “ซี้ซี้อู่หอซิว” หมายถึงทุกๆเวลาจะได้มีทรัพย์

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

สิ่งที่ทางฝ่ายเจ้าบ่าวต้องต้องเตรียม
เครื่องขันหมากของเจ้าบ่าว

สินสอดทองหมั้น ( เพ้งกิม )
เพ้ง คือ เงินสินสอด แล้วแต่ฝ่ายหญิงจะเรียกร้อง แต่ถ้าเจ้าสาวยังมีอากง อาม่าหรือปู่ย่าอยู่ฝ่ายชายต้องจัดเงินอั้งเปาอีกก้อนหนึ่งให้เ ป็นพิเศษด้วยพร้อมชุดหมู 1 ชุดอีกต่างหาก โดยพ่อแม่เจ้าสาวจะเป็นผู้รับขึ้นมา กิม คือ ทอง แล้วแต่ฝ่ายหญิงจะเรียกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าจะพิถีพิถันก็อาจขอเป็น ” สี่เอี่ยกิม ” แปลว่าทอง 4 อย่าง เพราะเลข 4 เป็นเลขดีของคนจีน ทอง 4 อย่าง เช่น กำไลทอง สร้อยคอทองคำ ตุ้มหูทอง เข็มขัดทอง

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

กล้วย
ต้องยกมาทั้งเครือเขียว ๆ ถ้าได้จำนวนหวีเป็นเลขคู่ยิ่งดี แล้วนับจำนวนให้ลงเลขคู่ ถ้าได้ลูกแฝดด้วยก็จะดีมาก เวลาใช้ให้เอากระดาษแดงพันก้านเครือและติดตัวหนังสือ ” ซังฮี่ ” บนเครือกล้วย และทาสีแดงบนลูกกล้วยทุกใบ และฝ่ายชายจะต้องเป็นผู้เอากลับ เมื่อพิธีสู่ขอเสร็จแล้ว กล้วยเป็นผลไม้ที่มี 2 นัยมงคล
– จำนวนผลที่มากมาย อวยพรให้มีลูกหลานสืบสกุลมาก ๆ
– ดึงสิ่งดี ๆ ให้มาเป็นของเรา ซัง แปลว่า คู่ ฮี่ แปลว่า ยินดี ซังฮี่ จึงแปลว่า ความยินดีของหญิงชายคู่หนึ่ง ซึ่งก็คือคู่บ่าวสาวนั่นเอง

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

อ้อย
อ้อย 1 คู่ ยกมาทั้งต้น เพื่ออวยพรให้ชีวิตคู่หวานชื่น แต่บางบ้านไม่เอา เพราะเป็นความหวานที่กินยากต้องทั้งปอกทั้งแทะ

ส้ม
ส้ม เป็นผลไม้มงคลให้โชคดี นิยมใช้ส้มเช้งเขียว ติดตัวหนังสือซังฮี่สีแดงทุกผล และต้องให้จำนวน เป็นเลขคู่แล้วแต่ฝ่ายหญิงกำหนด

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

ขนมหมั้น,ขนมแต่งงาน
ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้กำหนดทั้งชนิดและจำนวน การกำหนดชนิดคือ จะให้เป็นขนม 4 สี เรียกว่า ” ซี้เส็กหม่วยเจี๊ยะ ” หรือขนม 5 สี เรียกว่า ” โหงวเส็กทึ้ง ” ประกอบด้วย ขนมเหนียวเคลือบงา, ขนมเปี๊ยะโรยงา, ขนมถั่วตัด, ขนมข้าวพองทุบ และขนมโก๋อ่อน นอกจากนี้บางบ้านอาจขอให้มีน้ำตาลทราย, ซาลาเปาไส้หวาน, และคุกกี้กระป๋องด้วย โดยจำนวนของขนมแต่งงานและคุกกี้กระป๋อง ฝ่ายหญิงมักกำหนดจำนวน โดยนับจากจำนวนของญาติมิตรที่จะเชิญ มีคำเรียกการให้ขนมแต่งงานแก่ญาติมิตรว่า ” สั่งเปี้ย ” สั่ง หรือ ซั้ง แปลว่า ให้ เปี้ย แปลว่า ขนม ในที่นี้หมายถึงขนมหมั้นหรือขนมแต่งงาน

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

ชุดหมู เท่าที่พบจะมีประมาณ 3 ถาด
– ถาดที่ 1: เป็นชุดหัวหมูพร้อม 4 เท้าและหาง โดยเล็บเท้าต้องตัดเรียบร้อยติดตัวหนังสือซังฮี่
– ถาดที่ 2: เป็นถาดขาหมูสดติดตัวซังฮี่เช่นเดียวกัน
– ถาดที่ 3: เป็น” โต้วเตี้ยบะ” เท่านั้น คือเป็นเนื้อหมู ตรงส่วนท้องของแม่หมู เพื่ออวยพรให้เจ้าสาวได้เป็นแม่คน แม่ที่อุ้มท้องเพื่อให้กำเนิดบุตรแก่ฝ่ายชายและมีธรรมเนียมว่าทางฝ่ายหญิง ก็ต้องให้ชุดหมูสดตอบแทนแก่ฝ่ายชาย แต่ชุดหมูของฝ่ายหญิงจะเป็นชุดหัวใจหมูที่ต้องสั่งพ่อค้าเป็นพิเศษว่าเป็นชุดหัวใจทั้งยวงที่ยังมีปอดและตับติดอยู่ด้วยกัน เมื่อเสร็จพิธี ชุดหัวใจนี้อาจทำได้เป็น 2 แบบ
– แบบ 1: คือ ฝ่ายหญิงแบ่งชุดหัวใจให้ฝ่ายชายไปครึ่งหนึ่ง
– แบบ 2: คือ เอาชุดหัวใจนี้ไปประกอบอาหารให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวรับประทานร่วมกัน เพื่อเป็นเคล็ดอวยพรให้หญิงชายมีจิตใจร่วมกันเป็นใจหนึ่งใจเดียวกัน

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

ของเซ่นไหว้ที่บ้านเจ้าสาว
ฝ่ายชายต้องเตรียมของไหว้ 2 ชุด
– ชุด 1: สำหรับไหว้เจ้าที่
– ชุด 2: สำหรับไหว้บรรพบุรุษ
การจัดเตรียมของไหว้ที่ครบถ้วน จะต้องมีทั้งของคาว ขนมไหว้ ผลไม้ไหว้ เหล้า อาหาร 10 อย่าง ธูปเทียนดอกไม้ และมีของไหว้พิเศษ คือเส้นหมี่ เพื่ออวยพรให้ชีวิตคู่ยืนยาว และนิยมหาเถ้าแก่ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่นับถือและมีชีวิตครอบครัวที่ดีมาเป็นผู้นำขบวนหรือช่วยถือของขันหมาก เพื่อเป็นสิริมงคล

วันแต่งงาน
ก่อนถึงฤกษ์ส่งตัว เจ้าสาวจะแต่งหน้าหน้าทำผมสวยที่สุดในชีวิต แม่เจ้าสาวจะประดับปิ่นเงินปิ่นทอง และใบทับทิมที่ผม เมื่อแต่งตัวเสร็จแล้วก็จพาไปไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ ก่อนจะไปรับประทานอาหารกับครอบครัว ซึ่งมื้อนี้คุณแม่จะคีบอาหารป้อนลูกสาว พร้อมทั้งกล่วงคำมงคลของอาหารแต่ละชนิด

อาหารมงคลในพิธีแต่งงานแบบจีน
ปลา ภาษาจีนเรียกว่า “ฮื้อ ” หรือ “ชุ้ง” แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่าเหลือ สื่อถึงคำมมงคลว่า อู่ฮู้-อู่ชุ้ง คือมีเหลือกินเหลือใช้
ผักกู้ช่าย (หรือผักกุ่ยช่าย) สื่อความหมายว่าจะได้อยู่กันไปนานๆ เพราะกู้แปลว่า นาน
ผักเกาฮะไฉ่ คำว่า “เกาฮะ” สื่อหมายถึง เซียนฮั่วฮะ ซึ่งเป็นเซียนคู่ที่รักกันมาก กินผักเกาฮะไฉ่ สื่อความหมายว่าจะได้รักกันเหมือนเซียนคู่นั้น
ตับหมู ไส้หมู กระเพาะหมู ภาษาจีน เรียกว่า “กัว” “ตึ้ง” “โต้ว” และเมื่อเรียกรวมกันจะเป็นภาษามงคล คือ ” อั่วตึ๊งอั่วตั๊ว” หมายความว่า เปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น
หมู เป็ดไก่ เป็นของไหว้เจ้าถือว่าเป็นของมงคลอยู่แล้ว

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

ฤกษ์ปูเตียง
ควรเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่กินด้วยกันมานาน และมีการแต่งงานที่ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี มีศีลธรรมและมีลุกหลานดีมีความเจริญมั่งคง ให้มาปูเตียงให้ เมื่อปูเตียงเสร็จแล้วจะมีการนำส้มวางมุมเตียง (วางบนที่นอน) อย่างละ 1 ผล และ 4 ผลวางไว้ในจานหรือในตระกร้า ที่มีตัว “ซังฮี่” แปะอยู่ โดยนำไปวางไว้บนกลางเตียงพร้อมกับใบทับทิมยอดอ่อนสีแดงวางเอาไว้จนถึงวันแต่งงาน

พิธียกน้ำชาคารวะผู้ใหญ่

เมื่อถึงเวลารุ่งเช้าแขกเหรื่อเริ่มทยอยมาที่บ้านจนพร้อมหน้า คู่สามีภรรยาใหม่จะต้องทำการ “ชั่งเต๊” หรือยกนำชาให้พ่อแม่สามี และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าว โดยทั้งสองจะต้องคุกเข้าลงพร้อมกับรินชาใส่ถ้วยวางบนถาดส่งให้ เมื่อผู้ใหญ่ดื่มชาแล้วก็จะอวยพรและให้เงินทองให้เป็นทุนตั้งตัว ในขั้นตอนนี้บ่าวสาวจะมอบสิ่งของตอบแทน ซึ่งอาจจะเป็นผ้าขนหนูหรือเครื่องเบญจรงค์ก็ได้ เรียกว่า “ของรับไหว้” เมื่อเสร็จพิธียกน้ำชาคู่บ่าวสาวจึงกินขนมอี๊อีกครั้ง

– การตั้งโต๊ะกราบไหว้เจ้าที่เจ้าทาง ต้องหันหน้าตามทิศมงคลของเจ้าบ่าว เจ้าสาว และต้องดูตามวันเดือนปีเกิดด้วย
– ยกน้ำชาให้พ่อแม่เจ้าบ่าว โดยเจ้าบ่าวเจ้าสาว ต้องยกพร้อมกัน จับถาด 2 มือ แล้วก็เรียก อากงอาม่า กินน้ำชา หรือ ชั่งเต้ เสร็จแล้วพ่อแม่เจ้าบ่าวให้พรและให้ของรับไหว้ ส่วนคู่บ่าวสาวให้ของตอบแทน
– ในกรณีที่ญาติฝ่ายเจ้าบ่าวที่แต่งงานแล้ว ควรให้ยกน้ำชาทีเดียวเลยพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีการยกน้ำชาให้น้องเจ้าบ่าวด้วย 2 ถ้วย เพราะถือเป็นเคล็ดว่าจะมีคู่และถือเป็นการรับตัวเจ้าสาวเข้าบ้าน

ขั้นตอนการลำดับพิธีแต่งงานแบบจีน ยกน้ำชา

คู่รักใหม่กลับไปเยียมบ้าน

หลังแต่งงาน 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน ซึ่งจะแล้วแต่ฤกษ์ที่ได้มาก็ถึงเวลาที่ ญาติผู้ชายของเจ้าสาว จะมารับตัวเจ้าสาวกลับไปเยี่ยมบ้าน หรือเรียกว่า “ตึ่งฉู่” เจ้าสาวต้องเตรียมส้ม 12 ผล ใส่ถาดติดไม้ติดมือกลับบ้าน โดยมีน้องชายของเจ้าสาวมารับและเตรียมส้ม 12 ผลใส่ถาดไปด้วย

เมื่อถึงที่บ้านของฝ่ายหญิง คู่แต่งงานจะต้องทำพิธี “ชั่งเต๊” หรือยกน้ำชาให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง เมื่อยกน้ำชาแล้ว ท่านก็จะให้พรและของขวัญ ส่วนมากจะนิยมเป็นทรัพย์สิน เพื่อให้คู่แต่งงานได้นำเงินไปตั้งตัว จากนั้นก็จะมีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับลูกเขย แล้วนำส้มในตะกร้านี้กลับไปวางไว้บนหัวนอน เป็นอันเสร็จพิธีในการกลับบ้าน สำหรับส้มที่ได้จากการกลับบ้านเจ้าสาวนี้ให้ทานเฉพาะเจ้าบ่าวเจ้าสาวเท่านั้นเพราะถือเป็นเคล็ดว่าจำให้มีลูกหลานเยอะๆ